ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป
ทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
14. วิปากปัจจัย
[329] 1. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
คือ ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
3 ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มี 3 วาระ.
15. อาหารปัจจัย
[330] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอาหารปัจจัย
คือ กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ด้วย
อำนาจของอาหารปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 2)
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจ
ของอาหารปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 3)
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทา
ธรรมนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
คือ อาหารที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ธรรมที่มีธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นมูล มี 3 วาระ (วาระ
ที่ 4-5-6)
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
16. อินทริยปัจจัย
[331] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอินทริยปัจจัย
คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอินทริยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล (วาระที่ 2)