6. อุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัย
แก่อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม เเละ หทยวัตถุ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินน-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
11. ปัจฉาชาตปัจจัย
[376] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อํานาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม และ
อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
5. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
6. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
และอนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
12. อาเสวนปัจจัย
[377] 1. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ.
13. กัมมปัจจัย
[378] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย
คือ เจตนาที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
คือ เจตนาที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.