เมนู

บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ
ฯลฯ เสนาสนะ แล้วยังตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ฯลฯ ย่อมเสวยทุกข์มีการ
แสวงหาเป็นมูล.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
กุศล และอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[375] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
พิจารณาจักขุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม
คันธะ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส
ฯลฯ เมื่อกุศลและอกุศล ดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ ที่เป็นอุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
คันธายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
จักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ รูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม คันธะ
รสะ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วยทิพยจักษุ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
3. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
รูปทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ฯลฯ สัททะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนุปาทินนธรรม ด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วย
ทิพโสตธาตุ.

4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม
ด้วยอํานาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม ฯลฯ คันธะ
ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
สัททายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.
5. อุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัย
แก่อุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัย
แก่จักขุวิญญาณ, สัททายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ และกายายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพาย-
ตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

6. อุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัย
แก่อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม เเละ หทยวัตถุ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินน-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[376] 1. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม ด้วย
อํานาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
.
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. อุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนธรรม และ
อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

4. อนุปาทินนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ