เมนู

ที่ย่อไว้ทั้งหมด พึงจำแนกให้พิสดาร.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น จิต และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ, แก่
เจโตปริยญาณ, แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, แก่ยถากัมมูปคญาณ, แก่
อนาคตังสญาณ, แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่
7-8-9)

3. อธิปติปัจจัย


[277] 1. อัชฌัตติกธรรม เป้นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต กระทำจิต ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.

2. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม กระทำจิตให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรม คือ จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย กระทำจิตที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ มี 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6)
อธิปติปัจจัยทั้งสอง พึงจำแนกทั้ง 3 วาระ.

7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
มี 3วาระ (วาระที่ 7-8-9)
แม้ทั้ง 3 วาระ ก็เป็นอธิปติปัจจัยอย่างเดียว.

4. อนันตรปัจจัย


[278] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่ 1-2-3)
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลาย ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู มี 3 วาระ ( วาระที่ 4-5-6)
แม้ทั้ง 3 วาระ ก็เช่นเดียวกัน.
7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่
7-8-9)

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

มี 9 วาระ ฯลฯ

เป็นปัจจัย ด้วยอํานาจของสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ เหมือน
กับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ เหมือน
กับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ เหมือนกับ
ปฏิจจวาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[279] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
จิต เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
(วาระที่ 1-2-3)
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงแจกให้บริบูรณ์ทั้ง 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6) พึงแจกแก่จิต,
และสัมปยุตตขันธ์.
7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่
7-8-9)

10. ปุเรชาตปัจจัย


[280] 1. อัชฌัตติกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ.
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ กายะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.