เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ.
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ.
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.
เหมือนกับปัจจยวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.
เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ.
10. ปุเรชาตปัจจัย
[211] 1. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
มี 3 วาระ.
ได้เฉพาะธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรมเป็นมูลเท่านั้น ทั้ง 3 วาระนี้
เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน.
11. ปัจฉาชาตปัจจัย
[212] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสหภูธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรมที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
3. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต-
ปัจจัย
12. อาเสวนปัจจัย
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ.
13. กัมมปัจจัย
[213] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตต-
สหภูธรรม ที่เป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.