7. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่เป็นเจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)
10. ปุเรชาตปัจจัย
[104] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิต ย่อม
เกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัทตุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเจตสิก ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิต และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
11. ปัจฉาชาตปัจจัย
[105] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
2. ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ
3. ธรรมที่เป็นเจตสิก และธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
ฯลฯ
12. อาเสวนปัจจัย
[106] 1. ธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น
เจตสิก ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย