เมนู

" หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะ
เป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อน
กลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม."

ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นากทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้
ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า แม้ในอดีตกาล
อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน " ให้ภิกษุเหล่า
นั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว "
ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
2. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.
" บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน.
พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง. จะไม่พึงเศร้าหมอง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฏิรูเป นิเวสเย ได้แก่ พึง
ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควร. พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า " บุคคลใด
ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วย
ปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น. บุคคลนั้น พึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณ
นั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นใน
ภายหลัง. ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่าง

เดียวเท่านั้น ได้ความนินทาจากผู้อื่นแล้ว ชื่อว่าย่อมเศร้าหมอง. บุคคล
เมื่อยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นแล้ว สั่งสอนผู้อื่นอยู่ ย่อมได้รับความสรร-
เสริญจากผู้อื่น; เพราะฉะนั้นชื่อว่าย่อมไม่เศร้าหมอง. บัณฑิตเมื่อทำอยู่
อย่างนี้ ชื่อว่าไม่พึงเศร้าหมอง.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุสองรูปนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
เทศนาได้เป็นไปกับด้วยประโยชน์แม้เเก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.

3. เรื่องพระปธานิกติสสเถระ [129]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธานิก-
ติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.

พระปธานิกติสสเถระดีแต่สอนคนอื่น ตนไม่ทำ


ดังได้สดับมา พระเถระนั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-
ศาสดาแล้ว พวกภิกษุประมาณ 500 รูปไปจำพรรษาในป่า กล่าวสอนว่า
"ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระชนม์อยู่, จงเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว
ตนเองก็ไปนอนหลับ. ภิกษุเหล่านั้นจงกรมในปฐมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหาร
ในมัชฌิมยาม. พระเถระนั้นไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ในเวลาตนนอน
หลับแล้วตื่นขึ้น กล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยหวังว่า 'จักหลับนอน' ดังนี้
หรือ ? จงรีบออกไปทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอน
เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พวกภิกษุนอกนี้ จงกรมในภายนอกในมัชฌิมยาม
แล้ว เข้าไปสู่วิหารในปัจฉิมยาม. พระเถระนั้น ตื่นขึ้นแม้อีกแล้ว ไปสู่
สำนักของภิกษุเหล่านั้น นำภิกษุเหล่านั้นออกจากวิหารแล้ว ตนเองก็ไป
นอนหลับเสียอีก. เมื่อพระเถระนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.
ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะทำการสาธยายหรือทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจได้.
จึงได้ถึงความฟุ้งซ่านแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันว่า " อาจารย์ของพวก
เรา ปรารภความเพียรเหลือเกิน, พวกเราจักคอยจับท่าน " เมื่อคอยจับอยู่
เห็นกิริยาของพระเถระนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรา
ฉิบหายแล้ว, อาจารย์ของพวกเราย่อมร้องเปล่า ๆ " บรรดาภิกษุเหล่านั้น