เมนู

ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา.
" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ, ช่างศรทั้งหลาย
ย่อมดัดลูกศร, ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้, ผู้
สอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกตน. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพฺพตา ความว่า ว่าง่าย คือพึงโอวาท
พึงอนุศาสน์ โดยสะดวก. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสุขสามเณร จบ.
ทัณฑวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 10 จบ.

คาถาธรรม


ชราวรรค1ที่ 11


ว่าด้วยสิ่งที่คร่ำคร่า ชรา


[21] 1. เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์
พวกเธอยังจะร่าเริงบันเทิงอะไรกันหนอ เธอทั้งหลาย
อันความมืดปกคลุมแล้ว ทำไมจึงไม่แสวงหาประทีป
เล่า.

2. เธอจงดูอัตภาพที่ไม่มีความยั่งยืน (และ)
ความมั่นคง (อันกรรม) ทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็น
แผล อันกระดูก 300 ท่อน ยกขึ้นแล้ว อันอาดูร
ที่มหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก.

3. รูปนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นรังของโลก เปื่อยพัง
กายของตนเป็นของเน่า จักแตก เพราะชีวิตมีความ
ตายเป็นที่สุด.

4. กระดูกเหล่านี้ใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาดดุจ
น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ ความยินดี
อะไรเล่า (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.

5. สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้ง-
หลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา
มรณะ มานะ และมักขะ.

1. วรรคนี้มีอรรถกถา 9 เรื่อง.