นั้น. บัดนี้ เธอยืนอยู่โดยทำนองนี้ ในท่ามกลางแห่งบริษัท 4 กล่าวอยู่
ต่อหน้าเราว่า " ฉันมีความปรารถนาน้อย " ดังนี้ ชื่อว่าได้ทำกรรมอันไม่
สมควรแล้ว. เพราะว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ ด้วยเหตุสักว่าห้ามผ้า
สาฎกเป็นต้นก็หามิได้ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
8. น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา
รโชชลฺลํ อุกูกุฏิกป)ปธานํ
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ.
" การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์
ไม่ได้, การเกล้าชฎาก็ไม่ได้ การนอนเหนือเปือกตม
ก็ไม่ได้, การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่นดินก็ดี
ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความเพียร
ด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำสัตว์ผู้ยัง
ไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาสกา ตัดบทเป็น น อนาสกา.
ความว่า การห้ามภัต. การนอนบนแผ่นดิน ชื่อว่า ตณฺฑิลสายิกา
ธุลีที่หมักหมมอยู่ในสรีระ โดยอาการคือดังฉาบทาด้วยเปือกตม ชื่อว่า
รโชชลฺลํ, ความเพียรที่ปรารภแล้ว ด้วยความเป็นผู้นั่งกระโหย่ง ชื่อว่า
อุกฺกุฏิกปฺปธานํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายคำนี้ว่า " ก็สัตว์ใดเข้าใจว่า
เราจักบรรลุความบริสุทธิ์ กล่าวคือการออกจากโลก ด้วยการปฏิบัติ
อย่างนี้ ' ดังนี้แล้ว พึงสมาทานประพฤติวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวัตร
มีการประพฤติเป็นคนเปลือยเป็นต้น เหล่านี้. สัตว์นั้น พึงชื่อว่าเจริญ
ความเห็นผิด และพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากโดยส่วนเดียว. ด้วยว่า
วัตรเหล่านั้น ที่สัตว์สมาทานดีแล้ว ย่อมยังสัตว์ที่ชื่อว่าผู้ยังไม่ล่วงความ
สงสัยอันมีวัตถุ 5 อันตนยังไม่ก้าวล่วงแล้วให้หมดจดไม่ได้. "
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จบ.
9. เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ [115]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติมหา-
อำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย"
เป็นต้น.
สันตติมหาอำมาตย์ ได้ครองราชสมบัติ 7 วัน
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์นั้นปราบปราม
ปัจจันตชนบท ของพระเจ้าปเสนทิโกศล อันกำเริบให้สงบแล้วกลับมา.
ต่อมา พระราชาทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ 7 วัน ได้
ประทานหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับนางหนึ่งแก่เขา. เขาเป็นผู้
มึนเมาสุราสิ้น 7 วัน ในวันที่ 7 ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างแล้ว
ขึ้นสู่คอช้างตัวประเสริฐไปสู่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไป
บิณฑบาตที่ระหว่างประตู อยู่บนคอช้างตัวประเสริฐนั่นเอง ผงกศีรษะ
ถวายบังคมแล้ว.
พระศาสดาทรงทำการแย้ม พระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล ? เป็นเหตุให้ทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ"
เมื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งการแย้ม จึงตรัสว่า "อานนท์ เธอจงดูสันตติ-
มหาอำมาตย์, ในวันนี้เอง เขาทั้งประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มา
สู่สำนักของเรา จักบรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท 4
แล้ว นั่งบนอากาศ ชั่ว 7 ลำตาล จักปรินิพพาน."
มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้กำลังตรัสกับพระเถระอยู่