คาถาธรรมบท
อัตวรรค1ที่ 12
ว่าด้วยเรื่องตน
[22] 1. ถ้าบุคคลทราบตนว่าเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี บัณฑิตพึงประคับประคอง(ตน)
ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง.
2. บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควร
ก่อนพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง จะไม่พึงเศร้าหมอง.
3. ถ้าผู้อื่นพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตาม
ฉันนั้น บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก
(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก.
4. ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่าพึง
เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้
ที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก.
5. บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็น
แดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชร
ย่ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หินฉะนั้น.
6. ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทราย รัดรึงต้นสาละฉะนั้น
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น.
1. วรรคนี้มีอรรถกถา 10 เรื่อง.
7. กรรมอันไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
คนทำง่าย กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตน และดี
กรรมนั้นแลทำยากอย่างยิ่ง.
8. บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า
คัดค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์ มีปกติ
เป็นอยู่โดยธรรม บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อมาฆ่าตน
เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่.
9. บาปอันผู้ใดทำแล้วด้วยตนเอง ผู้นั้นย่อม
เศร้าหมองด้วยตน บาปอันผู้ใดไม่ทำด้วยตน ผู้นั้น
ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เป็น
ของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้.
10. บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม
เสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์
ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.
จบอัตตวรรคที่ 12
12. อัตตวรรควรรณนา
1. เรื่องโพธิราชกุมาร [127]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในเภสกฬาวัน ทรงปรารภโพธิราชกุมาร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.
โพธิราชกุมารสร้างปราสาทแล้วคิดฆ่านายช่าง
ดังได้สดับมา โพธิราชกุมาร รับสั่งให้สร้างปราสาท ชื่อโกกนท
มีรูปทรงไม่เหมือนปราสาทอื่น ๆ บนพื้นแผ่นดิน ปานดังลอยอยู่ในอากาศ
แล้ว ตรัสถามนายช่างว่า " ปราสาทที่มีรูปทรงอย่างนี้ เธอเคยสร้างในที่
อื่นบ้างแล้วหรือ ? หรือว่านี้เป็นศิลปะครั้งแรกของเธอทีเดียว " เมื่อเขา
ทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นศิลปะครั้งแรกทีเดียว " ท้าวเธอทรง
ดำริว่า " ถ้านายช่างผู้นี้จักสร้างปราสาทมีรูปทรงอย่างนี้แม้แก่คนอื่นไซร้,
ปราสาทนี้ก็จักไม่น่าอัศจรรย์; การที่เราฆ่านายช่างนี้เสีย ตัดมือและเท้า
ของเขา หรือควักนัยน์ตาทั้งสองเสียย่อมควร; เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจะสร้าง
ปราสาทแก่คนอื่นไม่ได้ ท้าวเธอตรัสบอกความนั้น แก่มาณพน้อยบุตร
ของสัญชีวก ผู้เป็นสหายรักของตน.
นายช่างทำนกครุฑขี่หนีภัย
มาณพน้อยนั้น คิดว่า " พระราชกุมารพระองค์นี้ จักผลาญนายช่าง
ให้ฉิบหายอย่างไม่ต้องสงสัย, คนผู้มีศิลปะเป็นผู้หาค่ามิได้, เมื่อเรายังมีอยู่
เขาจงอย่าฉิบหาย. เราจักให้สัญญาแก่เขา." มาณพน้อยนั้นเข้าไปหาเขา