บทว่า อญฺญาตุํ คือ (สามารถ) จะรู้ทั่วถึงได้
สองบทว่า วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า (เว้น) จากบุรุษ
ผู้รู้เดียงสา (ผู้รู้ความหมาย) ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่ดิรัจฉาน แม้ผู้
แปลงเพศเป็นบุรุษ.
หลายบทว่า อนาปตฺติ วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแม้มากแก่หญิงผู้ยืนอยู่กับบุรุษผู้รู้เดียงสา.
บทว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้แสดง
(ธรรม) ด้วยวาจา 5-6 คำ. ในคำว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ นั้น บัณฑิตพึง
ทราบประมาณแห่งวาจาโนธรรมทั้งปวงอย่างนั้น คือ คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่า วาจา
คำหนึ่ง. หากว่า ภิกษุเป็นผู้ประสงค์ จะกล่าวอรรถกถา หรือว่า เรื่องมี
เรื่องธรรมบทและชาดกเป็นต้น จะกล่าวเพียง 5-6 บทเท่านั้น ควรอยู่.
เมื่อจะกล่าวพร้อมด้วยบาลี พึงกล่าวธรรมอย่าให้เกิน 6 บท อย่างนี้ คือ
จากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา 5 บท. จริงอยู่ ธรรมมีประเภทดังกล่าว
ในปทโสธรรม จัดเป็นธรรมเหมือนกันหมด แม้ในสิกขาบทนี้.
สองบทว่า ตสฺมึ เทเสติ คือ แสดงในขณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า ตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ, ความว่า ย่อมแสดง
แก่หญิงนั้น.
สองบทว่า อญฺญสฺส มาตุคามสฺส มีความว่า ภิกษุนั่งบนอาสนะ
เดียว แสดง (ธรรม) แม้แก่มาตุคามตั้ง 100 คน อย่างนี้ คือ แสดงแก่หญิง
คนหนึ่งแล้ว แสดงแม้แก่หญิงอื่นผู้มาแล้ว ๆ อีก. ในอรรถกถามหาปัจจรี
ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุกล่าวว่า รูปจะแสดงคาถาแก่พวกท่านคนละคาถา พวก
ท่านจงฟังคาถานั้น ดังนี้ แล้วแสดง (ธรรม) แก่พวกมาตุคามผู้นั่งประชุม
กันอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทำความใฝ่ใจตั้งแต่แรกว่า เราจักกล่าวคาถาแก่
หญิงคนละคาถา ดังนี้ แล้วบอกให้รู้ก่อนจึงแสดง สมควรอยู่.
หลายบทว่า ปญฺหํ ปุจฺฉติ ปญฺหํ ปุฏฺโฐ กเถติ มีความว่า
มาตุคามถามว่า ท่านเจ้าค่ะ . ชื่อว่าทีฆนิกายแสดงอรรถอะไร ? ภิกษุถูกถาม
ปัญหาอย่างนี้ ถ้าแม้น จะกล่าวทีฆนิกายทั้งหมด ก็ไม่เป็นอาบัติ คำที่เหลือ
ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นทางวาจา 1 วาจากับ
จิต 1 เป็นทั้งกิริยา ทั้งกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ-
วัชชะ วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ 7 จบ
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 8
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[304] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคย
เห็นร่วมคบทากันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
วัชชีชนบทเกิดทุพภิกขภัย
ก็แลสมัยนั้น วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง
มีข้าวคายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการ
ถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบท
อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้อ
อาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้
ง่าย พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงก้น ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.
มติของที่ประชุม
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจะช่วย
กันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั่น พวกเขา
จักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาต
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร
ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย