อาจารย์ผู้ท้วงนั้น อันสกวาทีพึงกล่าวค้านอย่างนี้ว่า ก็ในเรือนแห่ง
เจดีย์ที่ไม่ปิดประตู เหตุไร จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วนกับอนุปสัมบันผู้
นอนในภายนอกเล่า ?.
อาจารย์ผู้ท้วง จะพึงเฉลยว่า เพราะหน้ามุขกับท้องเป็นที่มุงทั่งหมด
สกวาที ถามว่า ก็เมื่อปิดห้องแล้ว หลังคารื้อออกได้หรือ ?.
อาจารย์ผู้โจทก์เฉลยว่า รื้อออกไม่ได้, เพราะหน้ามุขกับต้องบังทั้งหมด
จึงรื้อไม่ได้.
สกวาที ถามว่า ผนังกั้น (หน้ามุข) รื้อออกได้หรือ ?.
อาจารย์ผู้โจทก์จักกล่าวแน่นอนว่า รื้อออกไม่ได้ (เพราะ) อุปจาร
กั้นไว้ด้วยบานประตู. อาจารย์ผู้โจทก์จักดำเนินไปไกลแสนไกล โดยนัยอย่างนั้น
แล้วจักวกกลับมาหาความมีอุปจารเดียวกัน และอุปจารต่างกันนั่นแหละอีก.
อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากว่า เนื้อความจะพึงเป็นอันเข้าใจได้ง่ายด้วยเหตุ
สักว่าพยัญชนะอย่างเดียวไซร้, ที่นอนมุงด้วยเครื่องมุง 5 ชนิด ชนิดใด
ชนิดหนึ่งเท่านั้น จึงจะจัดเป็นที่นอนได้ ตามพระบาลีที่ว่า มุงทั้งหมด ที่นอน
มุงด้วยเครื่องมุงอย่างอื่นไม่ใช่. และเมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่พึงเป็นอาบัติในที่นอน
ซึ่งมุงด้วยไม้กระดานเป็นต้น. เพราะไม่มีความเป็นอาบัตินั้น สิกขาบทที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อันใด, ประโยชน์อันนั้น นั่นแหละ
พึงเสียไป. จะเสียประโยชน์อันนั้นไปหรือหาไม่ก็ตามที; ทำไมจะไปถือเอาคำ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้เล่า ? หรือว่าใครเล่ากล่าวว่า ควรเชื่อถือ
ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้
ไว้ในอนิยตสิกขาบททั้งสองว่า อาสนะ ที่ชื่อว่ากำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขา
กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด
อย่างหนึ่ง* ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ในอนิยตสิกขาบทนั้น ท่านถือเอาอาสนะที่เขากำบังด้วย
วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันใด, ถึงในสิกขาบทนี้ บัณฑิตก็พึงถือเอาเสนาสนะ
นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใด ๆ จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที เกี่ยว
เนื่องหรือไม่เกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุอื่น ยาวหรือกลม หรือ 4 เหลี่ยมจตุรัสก็ตาม
มีพื้นชั้นเดียว หรือมีพื้นมากชั้นก็ตาม ซึ่งมีอุปจารเดียวกัน เป็นสหเสยยาบัติ
ในเสนาสนะนั้น ๆ ทั้งหมด ซึ่งมุงทั้งหมด บังทั้งหมด หรือมุงโดยมาก ด้วย
เครื่องกำบังอย่างใดอย่างหนึ่งแล.
ในคำว่า มุ่งกึ่งหนึ่ง บังกึ่งหนึ่ง ต้องทุกกฏ นี้ ในมหาปัจจรีก็กล่าวว่า
เป็นทุกกฏเหมือนกัน แม้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง. แต่ใน
มหาอรรถกถากล่าวว่า ในเสนาสนะที่มุงทั้งหมด บังโดยมาก เป็นปาจิตตีย์
ในเสนาสนะมุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ มุงโดยมาก บังกึ่งหนึ่ง
เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงโดยมาก เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงกึ่งหนึ่ง
เป็นปาจิตตีย์, บังโดยมาก มุงกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ เป็นปาจิตตีย์ 7 ตัว
รวมกับปาจิตตีย์ที่ตรัสไว้ในบาลี. (ในมหาอรรถกถา) กล่าวว่า ในเสนาสนะ
มุงทั้งหมด บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ มุงโดยมาก บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ
บังทั้งหมด มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ บังโดยมาก มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ
เป็นทุกกฏ 5 ตัว รวมกับทุกกฏในบาลี. ในเสนาสนะที่มุงกึ่งหนึ่ง บังเล็กน้อย
เป็นอนาบัติ. บังกึ่งหนึ่ง มุงเล็กน้อย เป็นอนาบัติ มุงเล็กน้อย บังเล็กน้อย
เป็นอนาบัติ.
* วิ. มหา. 14/33.
ก็ในคำว่า ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ ท่านกล่าวว่า
มีความประสงค์เอาเปนัมพมณฑปวรรณ. พื้นดินย่อมไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนัง
กั้นได้ ฉันใด, แม้ด้วยคำว่า ในที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ บัณฑิตก็
พึงทราบคำว่า พื้นดิน ไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนังกั้นได้นี้ ฉันนั้น. บทที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย 1 ทาง
กายกับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนั้นแล.
สหเสยยสิกขาบทที่ 5 จบ
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 6
เรื่องพระอนุรุทธเถระ
[298] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอนุรุทธะเดินทางไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ก็แลสมัยนั้น ในหมู่บ้านั้นมีสตรีผู้หนึ่ง จัดเรือนพัก
สำหรับอาคันตุกะไว้ จึงท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้
กะสตรีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเธอไม่หนักใจ อาตมาขอพักแรมในเรือนพัก
สักคืนหนึ่ง.
สตรีนั้นเรียนว่า นิมนต์พักแรมเถิด เจ้าข้า.
พวกคนเดินทางแม้เหล่าอื่นก็เข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะ
สตรีนั้นว่า คุณนายขอรับ ถ้าคุณนายไม่หนักใจ พวกข้าพเจ้าขอพักแรมใน
เรือนพักสักคืนหนึ่ง.
นางกล่าวว่า พระคุณเจ้าสมณะนั่นเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าท่าน
อนุญาต ก็เชิญพักแรมได้.
จึงคนเดินทางพวกนั้น พากัน เข้าไปหาท่านอนุรุทธะแล้ว ได้กล่าว
คำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่หนักใจ พวกกระผมขอ
พักแรมคืน ในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญพักเถิดจ้ะ.