มุสาวาทวรรค ทุฏฐุลลาโรจนสิขาบทที่ 9
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 9 ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถ เรื่องอาบัติชั่วหยาบ]
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิก
ไว้ในพระบาลีนี้ว่า อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ปาราชิก 4 และสังฆาทิเสส
13 ดังนี้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์, แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอา
ในสิกขาบทนี้. ในบาลีนั้น มีการวิจารณ์ดังต่อไปนี้ ถ้าว่า เมื่อภิกษุบอก
ปาราชิก ไม่พึงเป็นปาจิตตีย์ไซร้. แม้เมื่อมีศัพท์ว่าอุปสัมบัน สำหรับภิกษุ
และภิกษุณี ในสิกขาบทใด ท่านไม่ประสงค์เอานางภิกษุณี, ในสิกขาบทนั้น
เว้นภิกษุเสีย ที่เหลือนอกนี้ ท่านเรียกว่า อนุปสัมบัน ฉันใด, ในสิกขาบทนี้
ก็ฉันนั้น แม้เมื่อมีศัพท์ว่าทุฏฐุลละ สำหรับปาราชิกและสังฆาทิเสส ถ้าไม่
ทรงประสงค์เอาปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสคำนี้เท่านั้นว่า อาบัติ
ที่ชื่อว่าชั่วหยาบ ได้แก่สังฆาทิเสส 13.
ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ เป็นต้นนั้น พึงมีมติของบาง
อาจารย์ว่า ภิกษุใด ต้องปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้น เคลื่อนแล้วจากภิกษุภาวะ
เพราะเหตุนั้น ภิกษุ เมื่อบอกอาบัติของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมี
อธิบายอย่างนี้ แม้ภิกษุผู้ด่าก็พึงต้องอาบัติทุกกฏ และต้องปาจิตตีย์เท่านั้น .
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในปาราชิก) ว่า บุคคลเป็นผู้ไม่
บริสุทธิ์ ต้องธรรมคือปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถ้าบุคคลเป็นผู้มีความเข้าใจ
ว่าบริสุทธิ์ ให้บุคคลผู้นั้นกระทำโอกาส แล้วพูดมีความประสงค์จะด่า ต้อง
โอมสวาท. เมื่อบาลีถูกวิจารณ์อย่างนี้ ปาจิตตีย์นั่นแหละ ย่อมปรากฏแม้แก่
ผู้บอกอาบัติปาราชิก. จะปรากฎ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์
เท่านั้นเป็นหลักได้ ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ เพราะ (คำว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อทรงแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์ แต่
สังฆาทิเสสทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาทั้งปวง. การวิจารณ์แม้อย่างอื่น หามีไม่.
แม้ในเบื้องต้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า
ธรรมและวินัยใด อันพระพุทธเจ้า
ตรัสแล้ว ธรรมและวินัยนั้น อันโอรส
ทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้นรู้แล้วอย่างนั้น
นั่นเทียว ดังนี้เป็นต้น.
จริงอยู่ พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ย่อมทราบพระประสงค์ของ
พระพุทธเจ้า. ก็คำของพระอรรถกถาจารย์นั่น บัณฑิตพึงทราบโดยบรรยาย
แม้นี้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ใด้รับสมมติ. ก็การบอกแก่
ภิกษุผู้ได้รับสมมติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อประโยชน์ในอันสำรวม
ต่อไป คือ เพื่อประโยชน์จะไม่ต้องอาบัติเช่นนั้นอีก, และไม่ใช่เพื่อต้องการ
จะประกาศเพียงโทษของภิกษุนั้น, ทั้งไม่ใช่เพื่อต้องการเกียดกันที่พึ่งของภิกษุ
นั้นในพระศาสนา, และความเป็นภิกษุของผู้ต้องปาราชิกโดยไม่ต้องอาบัติเห็น
ปานนั้นอีก หามีไม่ เพราะเหตุนั้น คำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ใน
อรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อแสดงอรรถแห่ง
ทุฎฐุลลศัพท์ แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ ดังนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวชอบแล้ว.
ก็ในคำว่า อตฺถิ ภิกฺขุสมฺมติ อาปตฺติปริยนฺตา เป็นต้น มี
วินิจฉัยดังนี้ ภิกษุสมมติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไ่ว้นี้ไม่ได้มาในบาง
สิกขาบท, แต่เพราะภิกษุสมมติตรัสไว้ในสิกขาบทนี้นั่นแล จึงควรทราบว่า
สงฆ์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ แล้วอปโลกน์ 3 ครั้ง ทำด้วยความเป็นผู้
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้จักถึงความสังวรต่อไป แม้ด้วย
ความละอายและความเกรงกลัวในคนเหล่าอื่นอย่างนี้.
คำว่า อทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ อาโรเจติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส
มีความว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้บอกกองอาบัติแม้ทั้ง 5. ในมหาปัจจรีท่าน
ปรับอาบัติทุกกฏอย่างเดียว แม้แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติปาราชิก.
ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺลํ วา อทุฏฺฐุลฺลํ วา
อชฺณาจารํ นี้ ท่านกล่าวรูปความไว้ว่า สิกขาบท 5 ข้างต้น ชื่อว่า อัชฌาจาร
ชั่วหยาบ ที่เหลือชื่อว่าอัชฌาจารไม่ชั่วหยาบ, ก็สุกกวิสัฏฐิกายสังสัคคะ
ทุฎฐุลลวาจา และอัตตกามะ ชื่อว่าเป็นอัชฌาจาร ของภิกษุนั้น .
สองบทว่า วตฺถุํ อาโรเจติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอก
อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ ต้องสุกกวิสัฎฐิ ต้องกายสังสัคคะ ต้องทุฏฐุลละ ต้อง
อัตตกามะ.
สองบทว่า อาปตฺตึ อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุนี้
ต้องปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส ต้องถุลลัจจัย ต้องปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุบอกเชื่อมต่ออาบัติกับวัตถุ
โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนี้ ปล่อยอสุจิ ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้เท่านั้น จึงเป็น
อาบัติ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ 9 จบ
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 10
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
[349] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-
เจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีช่วยกันท่านวกรรม ขุดเอง
บ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่ง
ปฐพี พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่ง
ซึ่งมีชีวะ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา
ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวรัฐอาฬวีจึงได้ขุดเองบ้าง
ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า. . .แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ
ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี จริงหรือ.
ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า เพราะคนทั้งหลายสำคัญ
ในปฐพีว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้