จตุกกทุกกฏ
ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม กับหญิงยักษ์ก็ดี หญิงเปรตก็ดี บัณเฑาะก์
ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ไม่
ต้องอาบัติ
อานาปัตติวาร
[297] ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด 1 ในสถานที่บังทั้งหมด
ไม่มุงทั้งหมด 1 ในสถานที่ ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก 1 มาตุคามนอน
ภิกษุนั่ง 1 ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง 1 นั่งทั้งสอง 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ 6 จบ
มุสาวาทวรรค ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ 6
พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยสหเสยยสิกขาบทดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องท่านพระอนุรุทะ]
บทว่า อาวสถาคารํ ได้แก่ เรือนพักของพวกอาคันตุกะ.
สองบทว่า ปญญตฺตํ โหติ ได้แก่ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้
เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ.
ข้อว่า เยน สา อิตฺถี เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ท่านพระอนุรุทธะ
ฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักอันเขาจัดไว้ ณ ที่ชื่อโน้น ดังนี้ จึงเข้า
ไปหา
บทว่า คนฺธคนฺธินี มีวิเคราะห์ว่า กลิ่นแห่งของหอม มีกฤษณา
และกำยานเป็นต้น ชื่อว่า กลิ่นของหอม, กลิ่นของหอมนั้นมีแก่หญิงนั้น .
เหตุนั้น หญิงนั้นจึงชื่อว่า คันธคันธินี ผู้มีกลิ่นเครื่องหอม.
สองบทว่า สาฏกํ นิกฺขิปิตฺวา มีความว่า หญิงนั้นติดว่า แม้
ไฉนหนอ . เมื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น เห็นประการอันแปลกแม้นี้แล พึงเกิดความ
กำหนัด ดังนี้ จึงได้กระทำอย่างนั้น.
บทว่า โอกฺขิปิตฺวา ได้แก่ ทอดลง (ซึ่งอินทรีย์)
ความผิดพลาด ชื่อว่า โทษล่วงเกิน.
สองบทว่า มํ อจฺจคฺคมา ได้แก่ เป็นไปล่วง คือ ครอบงำซึ่งดิฉัน.
บทที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทก่อนนั่นแล. ก็
ความแปลกกัน มีเพียงอย่างนี้ คือ ในสิกขาบทก่อนเป็นอาบัติ ในวันที่ 4,
ในสิกขาบทนี้ เป็นอาบัติแม้ในวันแรก. เป็นทุกกฏ (แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนอน
ร่วมกัน) กับนางยักษ์และนางเปรตผู้มีรูปปรากฏ และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
เฉพาะที่เป็นวัตถุแห่งเมถุนธรรม. ก็แล สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียที่เหลือเป็นอนาบัติ.
แม้สมุฎฐานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นเอง ฉะนั้นแล.
ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ 6 จบ
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 7
เรื่องพระอุทายี
[298] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งหนึ่ง
เวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลแห่ง
หนึ่ง เวลานั้นหญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน หญิงสะใภ้ในเรือนนั่งอยู่ที่ประตู
ห้องนอน จึงท่านพระอุทายีเดินผ่านไปทางหญิงแม่เรือน แล้วแสดงธรรม ณ
ที่ใกล้หูหญิงแม่เรือน ขณะนั้น หญิงสะใภ้ในเรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะ
นั้น เป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือพูดเกี้ยว ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรม ณ ที่
ใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว เดินผ่านไปทางหญิงสะใภ้ในเรือนแล้ว แสดงธรรมใน
ที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือน. ฝ่ายหญิงแม่เรือนมีความสงสัยว่า พระสมณะนั้น
เป็นชายชู้ของหญิงสะใภ้ในเรือน หรือพูดเกี้ยว เมื่อท่านพระอุทายีแสดงธรรม
ในที่ใกล้หูหญิงสะใภ้ในเรือนกลับไปแล้ว จึงหญิงแม่เรือนได้ถามหญิงสะใภ้ใน
เรือนว่า นี่นางหนู พระสมณะนั้นได้พูดอะไรแก่เจ้า.
หญิงสะใภ้ตอบว่า ท่านแสดงธรรมแก่ดิฉัน เจ้าค่ะ แล้วถามว่า
ก็ท่านได้พูดอะไรแก่คุณแม่ เจ้าค่ะ.
แม่ผัวตอบว่า แม้แก่เรา ท่านก็แสดงธรรม.
สตรีทั้งสองนั้นต่างเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี
จึงได้แสดงธรรมในที่ใกล้หูมาตุคามเล่า ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรแสดง
ธรรมด้วยเสียงชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ.