ติกปาจิตตีย์
[346] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุป-
สัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้
รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่อาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน
เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[347] ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุบอกอัชฌาจารที่ชั่วหยาบก็ตาม ไม่ชั่วหยาบก็ตาม แก่อนุปสัมบัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติชั่วหยาบ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[348] ภิกษุบอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ 1 ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอก
วัตถุ 1 ภิกษุได้รับสมมติ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 9 จบ
มุสาวาทวรรค ทุฏฐุลลาโรจนสิขาบทที่ 9
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 9 ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถ เรื่องอาบัติชั่วหยาบ]
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิก
ไว้ในพระบาลีนี้ว่า อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ปาราชิก 4 และสังฆาทิเสส
13 ดังนี้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์, แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอา
ในสิกขาบทนี้. ในบาลีนั้น มีการวิจารณ์ดังต่อไปนี้ ถ้าว่า เมื่อภิกษุบอก
ปาราชิก ไม่พึงเป็นปาจิตตีย์ไซร้. แม้เมื่อมีศัพท์ว่าอุปสัมบัน สำหรับภิกษุ
และภิกษุณี ในสิกขาบทใด ท่านไม่ประสงค์เอานางภิกษุณี, ในสิกขาบทนั้น
เว้นภิกษุเสีย ที่เหลือนอกนี้ ท่านเรียกว่า อนุปสัมบัน ฉันใด, ในสิกขาบทนี้
ก็ฉันนั้น แม้เมื่อมีศัพท์ว่าทุฏฐุลละ สำหรับปาราชิกและสังฆาทิเสส ถ้าไม่
ทรงประสงค์เอาปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสคำนี้เท่านั้นว่า อาบัติ
ที่ชื่อว่าชั่วหยาบ ได้แก่สังฆาทิเสส 13.
ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ เป็นต้นนั้น พึงมีมติของบาง
อาจารย์ว่า ภิกษุใด ต้องปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้น เคลื่อนแล้วจากภิกษุภาวะ
เพราะเหตุนั้น ภิกษุ เมื่อบอกอาบัติของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมี
อธิบายอย่างนี้ แม้ภิกษุผู้ด่าก็พึงต้องอาบัติทุกกฏ และต้องปาจิตตีย์เท่านั้น .
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในปาราชิก) ว่า บุคคลเป็นผู้ไม่
บริสุทธิ์ ต้องธรรมคือปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถ้าบุคคลเป็นผู้มีความเข้าใจ
ว่าบริสุทธิ์ ให้บุคคลผู้นั้นกระทำโอกาส แล้วพูดมีความประสงค์จะด่า ต้อง
โอมสวาท. เมื่อบาลีถูกวิจารณ์อย่างนี้ ปาจิตตีย์นั่นแหละ ย่อมปรากฏแม้แก่