เมนู

คำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน อสมฺมตํ มีความว่า ผู้อันสงฆ์
มิได้สมมติด้วยกรรมวาจา คือ ผู้อันสงฆ์ยกภาระให้ว่า นี้ เป็นภาระของท่าน
อย่างเดียว หรือว่าผู้นำภาระนั้นไปด้วยตนเอง เพื่อต้องการความอยู่สบายของ
ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า (ย่อมให้โพนทะนาอุปสัมบัน) ผู้กระทำ
กรรมเช่นนั้น ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ 2-3 รูป.
ก็การให้สมมติ 13 อย่าง แก่อนุปสัมบันย่อมไม่ควร แม้โดยแท้
ถึงอย่างนั้น อนุปสัมบันผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นอุปสัมบัน ภายหลังทั้งอยู่
ในความเป็นอนุปสัมบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอนุปสัมบันนั้นว่า
หรือผู้อันสงฆ์สมมติ ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ วา อสมฺมตํ
วา นี้. แต่สงฆ์หรือภิกษุที่สงฆ์สมมติ มอบภาระแก่สามเณรรูปใด ผู้ฉลาด
อย่างเดียวว่า เธอจะกระทำกรรมนี้ ดังนี้, พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง
สามเณรเช่นนั้นว่า หรือผู้อันสงฆ์ไม่ได้สมมติ. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบท มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้น ทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อุชฌาปนสิกขาบทที่ 3 จบ

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องภิกษุมากรูป


[374] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็น
ฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง ผิงกายอยู่ ครั้นเขาบอก
ภัตกาล เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น
ไม่บอกมอบหมายแล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ บรรดาภิกษุ
ที่มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจัดตั้ง
เสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่เก็บเอง ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่ง
เสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะถูกน้ำค้างและฝนตกชะ
แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป ไม่เก็บเอง
ไม่ให้คนอื่นเก็บ ซึ่งเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย แล้วหลีกไป เสนาสนะ
ถูกน้ำค้างและฝนตกชะ จริงหรือ.
ภิกษุ ทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้น จัดตั้งเสนาสนะในที่แจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป จึงได้ไม่