ปุเรชาตะ พึงกระทำเหมือนปัจฉาชาตปัจจัย.
ปัจฉาชาตะ พึงกระทำเหมือนปุเรชาตปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน.
3. อัชฌัตติกธรรม เบ็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม
และพาหิรธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ
4. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่พาหิรธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ พึงให้พิสดารทั้งหมด.
5. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ ฯลฯ
6. พาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกธรรม และ
พาหิรธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ ฯลฯ
7. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ ปัจฉา-
ชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัย
แก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วย
กายวิญญาณ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม
เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
รูปายตนะ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพายตนะ และกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม ที่เกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม ที่เกิดภายหลัง
และกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ที่เกิดก่อน ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรมที่เกิดภายหลัง
และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตติกธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
8. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
พาหิรธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ
อาหาระ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ จักขายตนะ และจักขุ-
วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ.
สหชาตะ เหมือนกับปัจจยวาระ ไม่มีแตกต่างกัน.
เหมือนกับข้อความในบาลีข้างต้นนั่นเอง.
9. อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 2 และจักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ.
พึงจำแนกบททั้งปวง โดยนัยแห่งปัจจัยสงเคราะห์ข้างต้น.
22. นัตถิปัจจัย ฯลฯ 24. อวิคตปัจจัย
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัยเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัยเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัยการนับจำนวนวาระในอนุโลม
[288] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 9 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 9 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 9 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 9 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
ในสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัตถิปัจจัย
มี 9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคต-
ปัจจัย มี 9 วาระ.
ปัจจนียนัย
การยกปัจจัยในปัจจนียะ
[289] 1. อัชฌัตติกรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตติกรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาต-