พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 9. ปฐมโกสลสูตร
ถึงกระนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังมีความแปร1มีความแปรผัน2ไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสมบัตินั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสมบัตินั้น
ก็คลายกำหนัดในความเป็นพระราชาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสมบัติที่
ด้อยกว่า (1)
ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนส่องทิศทั้งหลายให้
สว่างอยู่ในที่ประมาณเท่าใด สหัสสธาโลกธาตุ3มีอยู่ในที่ประมาณเท่านั้น ใน
สหัสสธาโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ 1,000 ดวง มีดวงอาทิตย์ 1,000 ดวง มีขุนเขา
สิเนรุ 1,000 ลูก มีชมพูทวีป 1,000 มีอปรโคยานทวีป 1,000 มีอุตตรกุรุทวีป
1,000 มีปุพพวิเทหทวีป 1,000 มีมหาสมุทร 4,000 มีท้าวมหาราช 4,000
มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช 1,000 มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ 1,000 มีเทวโลกชั้นยามา
1,000 มีเทวโลกชั้นดุสิต 1,000 มีพรหมโลก 1,000 สหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่าใด ท้าวมหาพรหม อันชาวโลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศในสหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่านั้น ถึงกระนั้นท้าวมหาพรหมก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวก
ผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น เมื่อเบื่อหน่าย
ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น ก็คลายกำหนัดในความเป็นท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเลิศ
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (2)
สมัยที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมบังเกิดในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระโดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้บังเกิดด้วยอำนาจฌาน มีปีติเป็นภักษา มี
รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้นตลอดกาลช้านาน เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรพรหมทั้งหลาย อันชาว
โลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ ถึงกระนั้นอาภัสสรพรหมทั้งหลายก็ยังมีความแปร มีความ
แปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ก็คลายกำหนัดในความ
เป็นอาภัสสรพรหมซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (3)
เชิงอรรถ :
1 ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ชรา (องฺ.ติก.
อ. 2/47/154)
2 ความแปรผัน (วิปริณามะ) ในที่นี้หมายถึงความตาย (องฺ.ทสก.อ. 3/29/338)
3 สหัสสธาโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี 1,000 จักรวาล ดูอังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ 20 ข้อ 81
หน้า 306