พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน1 อันวิญญูชน2พึงรู้เฉพาะตน มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อม
ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อ
มีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็น
ผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ใน
หมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมา-
นุสสติอยู่
3. พระองค์พึงระลึกถึงสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล
4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก มหานามะ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า
เชิงอรรถ :
1 ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตน หรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
2/54/158)
2 วิญญูชน หมายถึงบัณฑิต (องฺ.ติก.อ. 2/54/158)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
สังฆานุสสติอยู่
4. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม
เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคต
กล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี
พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม
เจริญสีลานุสสติอยู่
5. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม1 ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่
เชิงอรรถ :
1 มีฝ่ามือชุ่มอรรถกถาอธิบายว่า คนที่ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง 7 ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
อยู่นั่นเอง แต่คนที่มีศรัทธา แม้จะมีมือสกปรก ก็ชื่อว่ามีมือที่ได้ล้างสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. 2/42/148)