เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 7. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
4. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูด
อิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 4 ประการ
เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
2. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
3. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว
มีผล การเซ่นสรวงมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
มีอยู่ในโลก’
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3 ประการ
เป็นอย่างนี้แล
เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล 3 ประการ เพราะสมบัติแห่ง
วจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล 4 ประการ หรือเพราะสมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนา
เป็นกุศล 3 ประการ สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :361 }