เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ1ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็น
นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน
ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถ
จัดได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดีย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น
ที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
7. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อม

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 32 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :36 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
สำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภ
ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มี
ความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ’ ภิกษุนั้น
ผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
8. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็น
นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ
ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
9. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้
เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้
อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้
แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็
เป็นนาถกรณธรรม
10. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดีย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :37 }