พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 10. นิทธมนิยสูตร
10. นิทธมนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบุคคลพึงกำจัด
[110] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด 10 ประการนี้
ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดมิจฉาทิฏฐิได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
2. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมกำจัดมิจฉาสังกัปปะได้ ...
3. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมกำจัดมิจฉาวาจาได้ ...
4. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมกำจัดมิจฉากัมมันตะได้ ...
5. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมกำจัดมิจฉาอาชีวะได้ ...
6. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมกำจัดมิจฉาวายามะได้ ...
7. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมกำจัดมิจฉาสติได้ ...
8. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมกำจัดมิจฉาสมาธิได้ ...
9. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมกำจัดมิจฉาญาณะได้ ...
10. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมกำจัดมิจฉาวิมุตติได้ กำจัดบาปอกุศลธรรมเป็น
อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยเสียได้ และกุศลธรรม เป็น
อันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงกำจัด 10 ประการนี้แล
นิทธมนิยสูตรที่ 10 จบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 11. ปฐมอเสขสูตร
11. ปฐมอเสขสูตร
ว่าด้วยพระอเสขะ สูตรที่ 1
[111] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อเสขะ อเสขะ นี้ ภิกษุเป็นพระอเสขะด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นอเสขะ
2. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
3. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
4. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
5. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
6. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
7. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติที่เป็นอเสขะ
8. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
9. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ1ที่เป็นอเสขะ
10. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
ภิกษุ ภิกษุเป็นพระอเสขะ อย่างนี้แล
ปฐมอเสขสูตรที่ 11 จบ
เชิงอรรถ :
1 สัมมาญาณะ ในสูตรนี้หมายถึงสัมมาทิฏฐินั่นเอง ท่านตรัสไว้เพื่อให้องค์ธรรมครบบริบูรณ์ และธรรม
ทั้งหมดนี้ เป็นธรรมชั้นอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. 3/111/373)