พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 3. มิจฉัตตสูตร
ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด)
ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรม(ธรรมที่ถูก) จึงมีการบรรลุสวรรค์
และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ
พลาดจากสวรรค์และมรรคผล
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ(ระลึกชอบ)
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ(รู้ชอบ)
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ(หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการบรรลุสวรรค์และ
มรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
มิจฉัตตสูตรที่ 3 จบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 4. พีชสูตร
4. พีชสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมล็ดพืช
[104] ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ(ความเห็น) วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และ
สังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ
มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ และมิจฉาวิมุตติ
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่
บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดสะเดาเป็นต้น
นั้นเลว
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้
บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิดี
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลี หรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของ
หวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
พีชสูตรที่ 4 จบ