เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 9. อุปาลิสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสาสนัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่า
การอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ... ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ... ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต’
อยู่ อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่
ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาลี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้
ในตน จึงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่า
นั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนก่อน
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นเป็นอันสิ้นไปแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา อุบาลี เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร การอยู่นี้ยิ่งกว่าและประณีต
กว่าการอยู่ทั้งหลายที่มีมาก่อนหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :239 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 10. อภัพพสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน อุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญ
จักมี1’
อุปาลิสูตรที่ 9 จบ

10. อภัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผล
[100] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 10 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ราคะ (ความกำหนัด) 2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง) 4. โกธะ (ความโกรธ)
5. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) 6. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
7. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) 8. อิสสา (ความริษยา)
9. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) 10. มานะ (ความถือตัว)

บุคคลยังละธรรม 10 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
บุคคลละธรรม 10 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
1 อรรถกถาอธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคทรงเตือนให้พระอุบาลีอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทรงอนุญาตให้
ท่านอยู่ป่า เพราะทรงเห็นว่าการอยู่ป่าจะทำให้ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาธุระคือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ให้สำเร็จได้ แต่การอยู่ในท่ามกลาง
สงฆ์ จะทำให้ท่านบำเพ็ญธุระได้ทั้ง 2 ด้าน และบรรลุพระอรหัตตผลได้ด้วย ทั้งจักเป็นหัวหน้าในการ
สังคายนาพระวินัยปิฎก (องฺ.ทสก.อ. 3/99/371)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :240 }