พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 2. ภยสูตร
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความดับด้วยอาการอย่างนี้
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล
เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา
4 ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมนี้แลด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ภยสูตรที่ 2 จบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 3. กิงทิฏฐิกสูตร
3. กิงทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับทิฏฐิ1
[93] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ได้ออกจาก
กรุงสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีได้มี
ความคิดว่า ยังไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์ยังทรงหลีกเร้น2
อยู่ ยังไม่ใช่เวลาที่จะเยี่ยมเยือนภิกษุทั้งหลายผู้อบรมจิต เพราะภิกษุเหล่านั้น
ยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังร่วมประชุมกัน ส่งเสียงเอ็ดอึง นั่ง
สนทนากันถึงติรัจฉานกถามีประการต่าง ๆ ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้กำลัง เดิน
มาจากที่ไกล จึงชวนกันให้หยุดว่า จงเงียบเสียงเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียง
เลย อนาถบิณฑิกคหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมายังอาราม
อนาถบิณฑิกคหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่งบรรดาคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวของพระสมณ-
โคดม ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พวกเขาชอบเสียงเบา ถูกฝึกให้มีเสียงเบา กล่าว
ชมผู้พูดเสียงเบา ทำอย่างไร เขาทราบว่าบริษัท3 เงียบเสียง ก็จะสำคัญว่าควรเข้าหา
ครั้นแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งเงียบ ลำดับนั้น อนาถบิณฑิก-
คหบดีเข้าไปหาอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจึง
ถามว่า คหบดี ขอท่านจงบอกเถิด พระสมณโคดมมีทิฏฐิอย่างไร
เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ คือ คติความเชื่อถือหรือความคิดเห็น (องฺ.ติก.อ. 2/66/202)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 50 (ภัณฑนสูตร) หน้า 106 ในเล่มนี้
3 บริษัท คือ หมู่, คณะ, ที่ประชุม, ประชุมชน เช่น พุทธบริษัท 4 แต่ในที่นี้หมายถึงหมู่คณะของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก