พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 2. ภยสูตร
แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุง
ตนให้เป็นสุข และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ
เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นนี้ เป็นผู้เลิศ
ประเสริฐ เป็นหัวหน้า สูงส่ง ล้ำเลิศ ฉันนั้นเหมือนกัน
กามโภคีสูตรที่ 1 จบ
2. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[92] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์
เครื่องบรรลุโสดา1 4 ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม2ด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต3สิ้นแล้ว เป็น
โสดาบัน4 ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ5 ในวันข้างหน้า
อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไป
ในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้
เชิงอรรถ :
1 องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. 3/478/307)
2 อริยญายธรรม หมายถึงมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ทสก.อ. 3/91-92/367)
3 อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง 3 คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. 1/43/50)
4 โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ 8
(อภิ.ปญฺจ.อ. 31/530)
5 สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค 3 เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (องฺ.ติก.อ.
2/87/242, องฺ.ติก.ฏีกา. 2/87/235)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 2. ภยสูตร
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็น
ไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
2. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
3. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
4. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
5. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย1อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง
ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมไม่ประสพภัย
เวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
เชิงอรรถ :
1 สุราและเมรัย หมายถึง สุรา 5 อย่าง คือ (1) สุราแป้ง (2) สุราขนม (3) สุราข้าวสุก (4) สุราใส่เชื้อ
(5) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย 5 อย่าง คือ (1) เครื่องดองดอกไม้ (2) เครื่องดองผลไม้ (3) เครื่อง
ดองน้ำอ้อย (4) เครื่องดองน้ำผึ้ง (5) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (ขุ.ขุ.อ. หน้า 17-18)