เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. นัปปิยสูตร
2. ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว แม้
การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. ภิกษุเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. ภิกษุเป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
7. ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มี
มายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
8. ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรม
ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :195 }