เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 6. อธิมานสูตร
3. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้ม
รุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
4. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีใจถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมอยู่โดย
มาก’ ก็การถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
5. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมอยู่
โดยมาก’ ก็การถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรม
วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
6. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน1 ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้
ชอบการงาน’ ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
7. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการพูดคุย’ ก็ความเป็นผู้ชอบการพูดคุยนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
8. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ’ ก็ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับนี้แล
เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
9. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่’ ก็ความเป็นผู้ชอบการ
คลุกคลีด้วยหมู่นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
10. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ
วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย

เชิงอรรถ :
1 การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/14/105, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/14-15/118)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :193 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. นัปปิยสูตร
ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม 10 ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม 10 ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
อธิมานสูตรที่ 6 จบ

7. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความรัก
[87] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกาฬกภิกษุ รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์1ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์ นี้
เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ2 เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
1 อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ 4 อย่าง คือ (1) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเรื่องวินัย
(2) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (3) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับ
อาบัติและการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (4) กิจจาธิกรณ์ กิจสงฆ์ต่าง ๆ เช่น ให้อุปสมบท หรือให้ผ้ากฐิน
เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. 2/15/12)
2 ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญสมณธรรม (องฺ.ทสก.อ. 3/87/362)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :194 }