พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 10. อาฆาตปฏิวินยสูตร
9. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
10. โกรธในเหตุอันไม่ควร1
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ 10 ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ 9 จบ
10. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[80] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต 10 ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
1. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
2. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
3. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
4. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
5. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ใน
ผู้นี้แต่ที่ไหน
เชิงอรรถ :
1 ดู อภิ.วิ. 35/967/476
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
6. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
7. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
8. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
9. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
10. ไม่โกรธในเหตุอันไม่ควร
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต 10 ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ 10 จบ
อากังขวรรคที่ 3 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. อากังขสูตร 2. กัณฏกสูตร
3. อิฏฐธัมมสูตร 4. วัฑฒิสูตร
5. มิคสาลาสูตร 6. ตโยธัมมสูตร
7. กากสูตร 8. นิคัณฐสูตร
9. อาฆาตวัตถุสูตร 10. อาฆาตปฏิวินยสูตร