พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเครื่องเจริญ 10 ประการนี้แล
จึงชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และมีปกติรับเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยทรัพย์
ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโภคสมบัติ มียศ
ญาติมิตร และพระราชาก็ทรงยกย่อง
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
บุคคลนั้น เป็นผู้คงที่ เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
ชื่อว่าเจริญทั้ง 2 ประการในปัจจุบัน
วัฑฒิสูตรที่ 4 จบ
5. มิคสาลาสูตร1
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ามิคสาลา
[75] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร2แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้แล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามท่านดังนี้ว่า
เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ฉกฺก. 22/44/334
2 คำว่า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร นี้ มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระ
อานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า ครองอันตรวาสก หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า ถือบาตรและจีวร หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือ
ห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง เทียบ (วิ.อ. 1/16/180, ที.ม.อ. 153/143, ม.มู.อ. 1/63/163, ขุ.อุ.อ. 6/65)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 5. มิคสาลาสูตร
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า คน 2 คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน1ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ จะพึงรู้ได้อย่างไร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาด
ไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้า
พระองค์ว่า
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้
เชิงอรรถ :
1 เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ 1 ข้อ 55 หน้า 42