เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 1. อากังขสูตร
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
4. หากภิกษุหวังว่า ‘ญาติสาโลหิต1เหล่าใด ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิต
เลื่อมใส ระลึกถึงเรา ขอการระลึกถึงเราของญาติสาโลหิตเหล่านั้น พึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
5. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้
บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
6. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ถ้อยคำหยาบคาย
ร้ายกาจ พึงเป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่ยินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต’ พึงเป็นผู้ทำ
ศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
7. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ข่มความยินดีและความยินร้าย ความยินดี
และความยินร้ายไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงข่มความยินดีและความยิน
ร้ายที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
8. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ระงับความกลัว ความหวาดเสียวได้
ความกลัวความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงระงับความ
กลัว ความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ...
เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด

เชิงอรรถ :
1 ญาติ หมายถึง บิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยา
และเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น
(องฺ.ทสก.อ. 3/71/358, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/71-74/425)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :157 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 2. กัณฏกสูตร
9. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก’
พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
10. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ พึงเป็นผู้
ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่
ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีลสมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์ สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อากังขสูตรที่ 1 จบ

2. กัณฏกสูตร
ว่าด้วยปฏิปักขธรรม
[72] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่าน
พระปาละ ท่านพระอุปปาละ ท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมภะ ท่านพระนิกฏะ
ท่านพระกฏิสสหะ และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงเหล่าอื่น
สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัดขบวน
พยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ครั้งนั้นแล
ท่านพระเถระเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือ
จำนวนมากได้พากันจัดขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคยังป่ามหาวัน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดี
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน
อยู่ผาสุก” ทีนั้น พระเถระเหล่านั้นจึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบ เสียง
ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :158 }