พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้หลงลืมสติ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด
แม้นานได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้
หลงลืมสติ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ1
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 222-223 ในเล่มนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ
ในปปัญจธรรม เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ1 ย่อมหลุดพ้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล
ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม2อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
เชิงอรรถ :
1 ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/252)
2 ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
2/5/7, ม.ม.อ. 2/82/80)