เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 179. กัปปิยภูมิอนุชานนา
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด
ในป่า ที่เกิดในกอบัว1 ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันภัตตาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ”
ครั้นเวลาเย็นจึงเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาถามว่า
“อานนท์ อาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย
บิณฑบาตได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาอาหารที่เกิดในป่า
และที่เกิดในกอบัว ทุกวันนี้ภิกษุยังฉันอาหารเหล่านั้นอยู่หรือหนอ”

เรื่องทรงห้ามอาหารที่หุงต้มภายในเป็นต้น
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ภิกษุยังฉันอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราห้ามอาหารเหล่านั้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอนุญาตแก่ภิกษุเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าไม่งอกงาม บิณฑบาต
หาได้ลำบาก คือ อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้อง
แล้วรับประเคนใหม่ ที่นำมาจากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิด
ในป่า ที่เกิดในกอบัว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้ม
ภายใน ที่หุงต้มเอง ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ผู้ใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ไม่พึงฉันอาหารที่นำมา

เชิงอรรถ :
1 อาหารที่เก็บไว้ภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตวุฏฐะ
ที่หุงต้มภายใน แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อันโตปักกะ
ที่หุงต้มเอง แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า สามปักกะ
ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า อุคคหิตปฏิคคหิตกะ
ที่นำมาจากที่นิมนต์ แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ตโตนีหฏะ
ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า ปุเรภัตตปฏิคคหิตกะ
ที่เกิดในป่า แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า วนัฏฐะ
ที่เกิดในกอบัว แปลมาจากศัพท์เฉพาะว่า โปกขรัฏฐะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :117 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 179. กัปปิยภูมิอนุชานนา
จากที่นิมนต์ ที่รับประเคนก่อนเวลาภัตตาหาร ที่เกิดในป่า ที่เกิดในกอบัว ซึ่งเป็น
อาหารที่ไม่เป็นเดน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม”1

เรื่องฝนตั้งเค้า
สมัยนั้น คนทั้งหลายในชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง
ของฉันบ้างเป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวงล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหาร
คอยว่า “พวกเราจะทำภัตตาหารถวายเมื่อได้โอกาส”
ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว คนเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว
ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ขอโอกาสเถิด พวกเราบรรทุก
เกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้าง เป็นอันมากไว้ในเกวียนแล้วตั้งวง
ล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระวิหารนี้เอง ก็เมฆฝนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นแล้ว พวกเราจะ
ปฏิบัติอย่างไรเล่า”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “อานนท์ ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารอยู่สุด
เขตวัดให้เป็นกัปปิยภูมิ แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์มุ่งหวัง คือ ในวิหาร เรือน
มุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ”

วิธีสมมติกัปปิยภูมิและกรรมวาจาสมมติ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสมมติกัปปิยภูมิอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสมมติวิหารชื่อ
นี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
1 พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเคี้ยวฉันของที่ไม่เป็นเดน ตามความใน
สิกขาบทที่ 5 แห่งโภชนวรรค (วิ.มหา. (แปล) 2/237-238/394-395)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :118 }